วันศุกร์, มกราคม 08, 2553

ผักพื้นบ้านภาคเหนือ

คลิ๊กที่ภาพ

ชะพลู (Pepper) Piper sarmentasum Roxb. ชื่ออื่น ช้าพลู (ภาคกลาง) ชะพลูเถา เฌอภลู (สุรินทร์) นมวา (มลายู) ผักปูนา ผักปูลิง ผักปูริง ปูลิงนก ผักพลูนก ผักอีเลิศ พลูลิง (ภาคเหนือ) เย่เท้ย (กะเหรียง – แม่ฮ่องสอน) ผักแค (ล้านนา)
ลักษณะ
ชะพลูเป็นพืชอยู่ในวงศ์ Piperaceae เป็นไม้เถาเลี้ยทอดไปตามพื้นดินเป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็กต้นเตี้ยสูงประมาณ 50 – 60 เซนติเมตร ลำต้นเป็นข้อ มีรากตามข้อ ใบรูปหัวใจลักษณะคล้ายใบพลู สีเขียวเข้ม เห็นเส้นใบชัดเจน ผิวใบไม่เรียบ ใบมีกลิ่นฉุนเล็กน้อย ต้นและใบมีรสเผ็ดเล็กน้อย ดอกออกตามยอดเป็นช่ออัดแน่น มีดอกข่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว พบขึ้นอยู่ทั่วไปตามที่ชื้น มักจะขึ้นเป็นกลุ่มข้างลำธาร และในป่าดิบแล้ง
การขยายพันธุ์ :ขุดแยกต้นเดิมไปปลูกได้ทั่วไปในที่ชื้น
การบริโภคและสรรพคุณ: ใบอ่อนใช้แกงกะทิ กุ้ง ปลา หรือหอยบางชนิด เช่น หอยโข่ง หอยแครง เป็นต้น ทำห่อหมก ใบสดหั่นใส่ข้าวยำ และใบทำเมี่ยงคำ คือ ใช้ห่อเครื่องเมี่ยงคำ ใบชะพลูมีโปรตีนค่อนข้างสูง เมื่อผสมกับอาหารประเภทเนื้อ จะช่วยให้ย่อยง่ายขึ้น นอกจากนี้ชะพลูยังมีสรรพคุณทางสมุนไพรอีกด้วย โดยใบชะพลูทำให้เสมหะแห้ง บำรุงน้ำดีและไข้ดีซ่าน แก้ท้องอืด แก้เบื่ออาหาร นอกจากนี้ส่วนต่าง ๆ ของชะพลูยังมีคุณค่าทางสมุนไพรอีกมากมาย
ข้อควรระวัง ถ้ากินใบชะพลูมากเกินไปจะทำให้เวียนหัว
ที่มา : ลั่นทม ดอนจวบทรง. ผักพื้นบ้าน(ภาคใต้). ทางเลือกในการผลิตและการบริโภค. กรุงเทพฯ : องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก,2537.
ใบชะพลู ใช้ประกอบอาหารอีสาน เช่น แกงหอยขม อ่อมต่างๆ กินเป็นผักสดก็ได้ อย่าให้บ่อยนัก มีสิทธิ์เป็นนิ่ว แต่จากรายงานการวิจัย พบว่ามีคุณสมบัติ ต้านอนุมูลอิสระและยับยังมะเร็งได้ดีเยี่ยม จะกินเป็นยา หรือจะเอาก้อนนิ่วก็ตามสะดวกนะครับ รูปนี้ที่บ้านผมเช่นเคยครับ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น